ไขแนวคิด Start ธุรกิจอย่างไรให้ผลลัพธ์ Up ถึง 700% ใน 10 เดือนกับ เจมส์ – CEO แห่ง Urbanice Application
ปี 2020 ที่ผ่านมา เรียกได้ว่าเป็นช่วงเวลาวัดใจสำหรับนักธุรกิจทุกคน ไม่ว่าจะบริษัทใหญ่หรือบริษัทเล็ก ทุกคนต่างได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ด้วยกันท้ังนั้น หากแนวทางการดำเนินธุรกิจปรับตัวไม่ดีพอ หรือ แผนกลยุทธ์แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าไม่ไวมากพอ อาจทำให้ธุรกิจมีปัญหาหรือไปต่อไม่ได้
วันนี้อยากพาทุกคนไปคุยกับคุณเจมส์ พฤทธิวรสิน ผู้บริหารและผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท Startup แอปพลิเคชันบริหารจัดการและสื่อสารภายในคอนโดฯ-หมู่บ้านจัดสรรที่ช่วยตอบโจทย์ชีวิตคนยุคใหม่ อย่าง ‘Urbanice’ ที่มาได้ถูกที่ ถูกเวลา สามารถเอาชนะปัญหาสภาพแวดล้อมของเศรษฐกิจและสถานการณ์ปัจจุบัน ด้วยสถิติการเติบโตสูงถึง 700% ภายในระยะเวลาเพียง 10 เดือนเท่านั้น
จุดเริ่มต้นของ Urbanice จาก ‘แรงบันดาลใจ’ สู่การสร้าง ‘เป้าหมาย’ ร่วมกัน
ในยุคที่โรคระบาดกำลังทำให้ทุกคนต้องอาศัยอยู่ภายในบ้านมากกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน การแก้ปัญหาภายในที่อยู่อาศัยให้ตอบสนองกับไลฟ์สไตล์ที่ครอบคลุมจึงเป็นโจทย์ใหญ่ที่ผู้บริหารและผู้ก่อตั้ง Urbanice ทุกคนพยายามตีให้แตก เพื่อสร้างสังคมและที่อยู่ที่มีความสุขให้กับผู้บริโภค
การที่ใครสักคนจะเริ่มทำธุรกิจ Startup คนนอกอาจมองว่าพวกเขาทำเพราะอยากรวยหรืออยากประสบความสำเร็จ แต่สำหรับคุณเจมส์และผู้ก่อตั้งอีก 2 คนแล้ว พวกเขาริเริ่มโครงการนี้จากความรู้สึกอยากสร้างสิ่งใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม จากแรงบันดาลใจที่อยากแก้ปัญหานำไปสู่การสร้างธุรกิจเพื่อแก้ปัญหาชุมชนไม่ว่าจะเป็นคอนโดฯ หมู่บ้านจัดสรร หรือแม้แต่ในชุมชนแออัด
การนำประสบการณ์ในฐานะ ‘ลูกบ้านและกรรมการคอนโดฯ ของตัวเอง และศึกษาปัญหาร่วมที่ลูกบ้านทุกคนมักพบเจอร่วมกันเป็นเรื่องสำคัญมาก พวกเขาให้ความสำคัญกับทุกปัญหาน้อยใหญ่เพื่อนำมาพัฒนาเป็นโมเดลธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการบริหารจัดการพัสดุในคอนโดฯ ความยุ่งยากในการแจ้งเตือนค่าน้ำ ค่าส่วนกลาง และเก็บหลักฐานการชำระเงินของลูกบ้าน ปัญหาการสื่อสารข้อมูลไม่ทั่วถึงระหว่างลูกบ้านและนิติบุคคลฯ ไปจนถึงภาระงานของพนักงานที่ทวีความหนักหน่วงตามจำนวนผู้พักอาศัยทำให้ดูแลได้ไม่ทั่วถึง
นอกจากการศึกษาพฤติกรรมและความต้องการของลูกค้าอย่างเข้มข้น เพื่อนำมาสู่การพัฒนาฟีเจอร์หลักที่ง่ายต่อการใช้งานและแก้ปัญหาได้จริงแล้ว แรงผลักดันและการสนับสนุนของสตาร์ทอัพสตูดิโอของ SCG อย่าง ZERO TO ONE by SCG เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจสตาร์ทอัพน้องใหม่ประสบความสำเร็จ
ZERO TO ONE by SCG สตาร์ทอัพสตูดิโอที่ให้ความสำคัญกับ ‘จุดสตาร์ทที่ดี’ ของธุรกิจ
ธุรกิจที่ดีนอกจากการมีแพชชั่นและหัวใจที่อยากทำธุรกิจและสร้างนวัตกรรมทางสังคมที่ช่วยแก้ปัญหาได้แล้ว ต้องอาศัยองค์ความรู้และการสนับสนุนที่เข้มแข็งด้วย สตาร์ทอัพ สตูดิโอของเอสซีจี อย่าง ZERO TO ONE by SCG จึงเกิดมาเพื่อบ่มเพาะและผลักดันความฝันให้กับพนักงาน SCG ทุกคนที่อยากลองทำธุรกิจ Startup เป็นของตัวเอง โดยเปิดให้ทุกคนที่สนใจสามารถเข้าร่วมคัดเลือก และดำเนินการเรียนรู้ไปตามแต่ละขั้นตอน ตั้งแต่วิธีการตั้งไข่ ลองปั้นโมเดลธุรกิจ (Hatch), วิธีการวางแผนและการดำเนินงาน (Walk) ไปจนถึงวิธีการทดสอบตลาดและเปิดให้ใช้งานจริง (Fly) เลยทีเดียว
และแน่นอนว่าการจะเป็นหนึ่งใน Startup ที่ได้ปล่อยในตลาดจริงนั้นไม่ง่าย โครงการนี้ทุกคนต้องผ่านกระบวนการปั้นธุรกิจอย่างเข้มข้น โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากแวดวง Startup คอยให้คำปรึกษาและคำแนะนำอย่างใกล้ชิด นั่นจึงเป็นสาเหตุว่าทำไม Urbanice จึงสามารถตอบสนองกับลูกค้าได้อย่างเข้มข้นและเข้มแข็ง เปิดตัวด้วยฟีเจอร์ตัวช่วยที่แก้ปัญหาการบริหารจัดการพัสดุให้กับลูกบ้านและฝ่ายนิติบุคคล อีกทั้งยังจัดการปัญหาเรื่องการสื่อสารและการแจ้งเตือนค่าใช้จ่ายต่างๆ ให้ราบรื่นได้
ความสำเร็จของ Urbanice ไม่ได้เกิดจากความรู้สึกอยากแก้ปัญหาของคุณเจมส์และทีมเท่านั้น แต่เกิดจากหลักการทำงานและปรับตัว 3 ข้อ ที่คุณเจมส์เข้มงวดกวดขันให้ทีม รวมถึงตัวเขา ให้รีเช็คการทำงานของตัวเองอยู่เสมอ โดยหลักการทำงานนี้เองที่เป็นกุญแจความสำเร็จการเติบโตอย่างเหลือเชื่อของ Urbanice
กุญแจดอกแรก… TEAM ส่วนประกอบสำคัญขับเคลื่อนธุรกิจสู่ความสำเร็จ
“ทีม คือ ส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดของการทำธุรกิจ Startup”
คุณเจมส์พูดอย่างหนักแน่นจากประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมาว่า..ไม่มีใครที่สามารถทำทุกอย่างและมีความสามารถครบรอบด้านภายในคนเดียว ยิ่งโดยเฉพาะการทำธุรกิจแบบ Startup ซึ่งมีข้อจำกัดในเรื่องต่างๆ สูง ดังนั้นทีมจึงเหมาะที่จะประกอบไปด้วยผู้คนหลากหลายที่มีทักษะแตกต่างกัน ความต่างนี้จะช่วยให้สามารถพัฒนาธุรกิจใหม่ๆ ในมุมมองที่หลากหลาย นำไปสู่ปลายทางเกิดเป็นผลลัพธ์ที่สมบูรณ์แบบ อีกทั้งยังช่วยในการเรื่องของความคิดเห็นที่มีต่อสถานการณ์พิเศษต่างๆ ช่วยให้ทีมสามารถปรับและดำเนินธุรกิจ โดยไม่ยึดมุมมองหรือความคิดเห็นแง่ไหนแง่หนึ่งเป็นพิเศษมากเกินไป
กุญแจดอกที่สอง… ‘Feedback’ จากผู้ใช้งานจริง พร้อมปรับปรุง แก้ไข และพัฒนาอยู่เสมอ
“การเอา Feedback ที่ได้จากลูกบ้านและนิติบุคคลฯ มาคุยกันเป็นสิ่งที่เราทำกันตลอดเวลา ยิ่งเป็นเรื่องที่เขาต่อว่าหรือตำหนิมาเรายิ่งต้องแชร์กันให้ไวเพื่อปรับปรุงและแก้ไข”
เพื่อปรับปรุงการทำงานให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างแม่นยำ การปรับปรุง แก้ไข และพัฒนาแอปพลิเคชันตามคำแนะนำของผู้ใช้งานจริงอยู่เสมอ จึงเป็นขั้นตอนสำคัญที่คุณเจมส์และทีมไม่เคยละเลยและมองข้าม และด้วยความใส่ใจและความกระตือรือร้นที่จะแก้ไขและพัฒนาตัวเองส่งผลให้ Urbanice กลายเป็นแอปพลิเคชันนิติบุคคลที่ได้ใจชุมชนไปเต็ม ๆ ทำให้เกิดกลยุทธ์การตลาดแบบปากต่อปาก การนำฟีดแบคมาปรับปรุงและพัฒนาจนเกิดการบอกต่อของลูกบ้านนี่แหละ ที่เป็นสิ่งช่วยสร้างภาพลักษณ์แบรนด์ ทำให้ธุรกิจ Startup ไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณไปกับการโฆษณาเพียงอย่างเดียว และสามารถนำไปพัฒนาทรัพยากรอื่นๆ ของธุรกิจได้
กุญแจดอกที่สาม… ปรับตัวให้ไว เรียนรู้จากความผิดพลาด ไม่หยุดพัฒนาตัวเอง
หลายคนอาจคาดไม่ถึงว่าสิ่งสำคัญมากๆ ในการทำงานสตาร์ทอัพ ไม่ใช่แผนการที่ชัดเจนหรือแนวทางการทำงานที่เป๊ะ เนี้ยบ ทุกกระเบียดนิ้ว แต่จริงๆ แล้วคือ “ความยืดหยุ่น” ต่างหากที่สำคัญ เพราะบางครั้งการยึดติดกับแผนใดแผนหนึ่งมากเกินไป โดยไม่ดูความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมหรือสถานการณ์ในปัจจุบัน ก็อาจทำให้ธุรกิจของเราล้มไม่เป็นท่าได้
การมี Growth Mindset กรอบความคิดแบบเติบโตที่ช่วยให้ทีมงานและธุรกิจของเราพร้อมปรับตัวตามความเปลี่ยนแปลงและเรียนรู้จากทุกความผิดพลาดอยู่เสมอจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ ทักษะการปรับตัวนี้เองที่จะช่วยให้ทีมและธุรกิจเติบโตได้ไม่ว่าจะต้องเจอกับสถานการณ์วิกฤตรูปแบบไหน
กุญแจความสำเร็จทั้ง 3 ข้อนี้ คือหลักความคิดที่คุณเจมส์และทีมให้ความสำคัญมากที่สุด เพราะหากขาดข้อใดข้อหนึ่งไป Urbanice ก็คงไม่อาจเติบโตและประสบความสำเร็จได้อย่างวันนี้
สำหรับใครที่อยากศึกษาและสัมผัสประสบการณ์การใช้งานแพลตฟอร์มบริหารงานชุมชนอย่าง Urbanice สามารถติดต่อใช้งานฟรี ได้ทาง Line Official Account ของ Urbanice ที่ @urbanice หรือดาวน์โหลดด้วยตัวเองที่ Google Play และ App Store ชีวิตดี ๆ ที่ลงตัวอยู่ใกล้แค่ปลายนิ้ว ลองสัมผัสประสบการณ์ใหม่นี้ด้วยกันรับรองว่าไม่ผิดหวังแน่นอน
ทำความรู้จัก Urbanice เพิ่มเติม คลิก https://www.scg.com/innovation/urbanice/
อ้างอิง
https://bit.ly/3qdU5sp
https://bit.ly/3obym2G
https://bit.ly/3fRFOwI